VALORANT คือเกมฟรีประเภทประเภททีม 5-ต่อ-5 โดยผ่านมุมมองของผู้เล่นหรือที่เรียกว่า FPS พัฒนาและเผยแพร่โดย Riot Games วัตถุประสงค์ของเกมคือการโจมตีและปกป้องพื้นที่จาก Spike ซึ่งเป็นระเบิดที่ใช้ใน VALORANT ซึ่งผู้เล่นจะต้องอาศัยความแม่นยำในการยิงปืน ควบคู่ไปกับความสามารถเฉพาะตัวของตัวละครใน VALORANT หรือที่เรียกว่า “Agents” เอเจนต์แต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น 1) ให้หรือปฏิเสธการให้ข้อมูล 2) คุ้มกันพื้นที่ในแนวสายตาของศัตรู 3) มีตัวช่วยในการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งและหลบหนีอันตราย หรือ 4) เคลียร์พื้นที่โดยจัดการกับพลังดาเมจได้โดยตรง ยิ่งไปกว่านั้นอัลติเมทของพวกเขายังเป็นตัวเปลี่ยนเกมได้อีกด้วย
ในแต่ละแมตช์ประกอบด้วยสองฝ่าย คือ ฝ่ายรุกและฝ่ายรับ โดยที่ฝ่ายรุกจะทำหน้าที่วาง Spike ไว้ตามจุดวางระเบิดต่างๆ ส่วนฝ่ายรับจะคอยป้องกันบริเวณวางระเบิดจากฝ่ายรุกให้ได้
สำหรับผู้เล่นมือใหม่ รูปแบบการเล่นของ VALORANT อาจดูน่ากลัวไปสักหน่อย ไม่ต้องกังวลไปเพราะเราจะแนะนำข้อมูลพื้นฐานให้คุณทราบเกี่ยวกับการยิงแบบทีมของ Riot ไปดูกันเลย
เอเจนต์และบทบาทของพวกเขา
ความตื่นตาตื่นใจของ VALORANT คือรายชื่อเอเจนต์ผนวกกับความสามารถเฉพาะตัวของพวกเขา ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะอธิบายว่าแต่ละบทบาทมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้: Duelists, Initiators, Controllers, และ Sentinels
Duelists
บทบาทหลักของ Duelists คือการสร้างพื้นที่สำหรับทีมเมื่อโจมตีจุดวางระเบิด พวกเขายังถูกคาดหวังให้ลงมือสังหารให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ เพราะพวกเขามักจะอยู่ในแนวหน้าเสมอ
เอเจนต์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Jett, Yoru, Phoenix, Reyna, Neon และ Raze
Initiators
Initiators ใช้ความสามารถรวบรวมข้อมูลสำหรับทีมร่วมกับ Duelists พวกเขามักถูกวางตำแหน่งในแนวหน้าเพื่อช่วยในการเคลียร์จุดวางระเบิด
เอเจนต์ในกลุ่มนี้คือ Sova, Skye, Breach, Fade และ KAY/O
Controllers
การปฏิเสธการให้ข้อมูลขณะควบคุมแผนที่เป็นความสามารถพิเศษของ Controllersตัวช่วยเสริมจะคอยกำบังแนวสายตาของฝ่ายตรงข้าม และคอยคุ้มกันทีมเมื่อเกิดการปะทะอันดุเดือด
เอเจนต์ในกลุ่มคือ Viper, Omen, Brimstone และ Astra
Sentinels
Sentinels เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ไม่ถนัดเข้าไปยังจุดวางระเบิดหรือติดตามอีกฝ่ายจากทางด้านข้างสักเท่าไรนัก
เอเจนต์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Sage, Chamber, Killjoy และ Cypher
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอเจนต์ รวมทั้งความสามารถของพวกเขา สามารถอ่านคู่มือโดยละเอียดฉบับนี้ได้เลย
อาวุธ
องค์ประกอบถัดมาภายใน VALORANT คืออาวุธอันหลากหลายสำหรับผู้เล่น เช่นเดียวกับเกมประเภทยิงอื่นๆ โดยหมวดหมู่ของอาวุธแยกตามคลาสได้ดังนี้: pistols, submachine guns, shotguns, rifles, snipers, และ heavy machine guns
Pistols
Pistols มักเป็นอาวุธที่ได้รับตั้งแต่ครึ่งแรกของเกมแบบฟรีๆ – คลาสสิก – เพื่อใช้ในการต่อสู้ การควบคุม Pistols ให้แม่นยำถือเป็นวิธีช่วยให้ทีมทำเงินได้ เมื่อทีมอยู่ในภาวะต้องการความปลอดภัย ผู้เล่นมักนึกถึง Pistolsในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินตัวเลือกหนึ่ง
Submachine Guns (SMG)
SMG เป็นอาวุธระดับกลางที่สร้างความเสียหายได้ดี โดยเฉพาะในรอบสภาวะทางการเงินของทีมสามารถมีอาวุธและชุดเกราะได้ แต่เงินไม่พอสำหรับ Rifles อาวุธชิ้นนี้เหมาะกับการรบระยะประชิดถึงกลางด้วยจำนวนแมกกาซีนค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่เหมาะกับระยะไกล เพราะ Rifles หรือ Snipers ได้เปรียบ SMG มากกว่า
Shotguns
Shotguns เหมาะกับการต่อสู้ระยะประชิด โดยเฉพาะในพื้นที่คับแคบและตามมุมอับคุณอาจซื้อ Shotguns เป็นรอบตามความจำเป็นเมื่อต้องการเปลี่ยนความเร็วของการแข่งขัน ผู้เล่นที่ใช้ Shotguns มักจะทำให้คู่ต่อสู้ตกใจแบบเหนือความคาดหมาย ด้วยพลังดาเมจมหาศาลและการส่งต่อข้อมูลไปยังคนอื่นในทีมด้วย
Rifles
Rifles เป็นอาวุธชิ้นสำคัญที่ควรมีในทีมหากสภาวะทางการเงินมีสภาพคล่องตัวมากพอให้ซื้อได้อย่างเต็มที่ ผู้เล่นที่ใช้ Rifles เหมาะกับการต่อสู้จากระยะไกล แต่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้ Rifles เพราะรูปแบบของปืนใน VALORANT ส่วนใหญ่จะหมุนเวียนกันไป
Snipers
รูปแบบของ Rifles อีกแบบคือ Snipers ปกติแล้วจะมีเฉพาะผู้เล่นที่มีความชำนาญเลือกเป็น Snipers เท่านั้นขณะที่ทีมอื่นใช้อาวุธประเภทอื่น Snipers มักอาศัยระยะสายตายาวไกล ต่างจากอาวุธอื่นที่เล็งที่จุดบอดของ Snipers แต่อาวุธชิ้นนี้ทำงานภายใต้แนวคิดที่ว่า “ยิ่งเสี่ยง ยิ่งคุ้ม” นั่นหมายความว่าลงมือได้มากก็ทำเงินได้มากตามไปด้วย
Heavy Machine Gun
Heavy Machine Gun เป็นอาวุธทรงพลังที่เทียบได้กับ SMG และ Rifles ทั้งในแง่ของพลังและมูลค่าทางเศรษฐกิจ แม้ว่าต้องอาศัยความชำนาญในการใช้งานบางอย่าง แต่หากต้องการเก็บ Rifles ไว้ ผู้เล่นนั้นอาจเลือก Heavy Machine Gun มาทดแทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันและความจุแม็กกาซีนสูง
สกินอาวุธ
คุณสามารถปรับแต่งสกินอาวุธของ VALORANT ได้โดยซื้อผ่าน Night Market และ Battle Pass (ซื้อได้หนึ่งครั้งต่ออีเวนท์ ตอนที่สกินเดิมลดราคา) ราคาของสกินอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบันเดิล วิธีที่ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องใช้เงินมากนักก็คือผ่าน Battle Pass มูลค่า 1,000 VALORANT Points ดังนั้น Battle Pass จึงเป็นตัวเลือกที่ถูกที่สุดในการรับสกินพิเศษเลยทีเดียว
โหมดเกม
VALORANT มีโหมดแบบถาวรอยู่สี่โหมด (Unrated, Ranked, Spike Rush, Deathmatch) และโหมดเกมแบบหมุนเวียนหนึ่งหรือสองโหมด (Escalation, Snowball Fight, Replication) ขึ้นอยู่กับการอัปเดตแพตช์แต่ละครั้ง
Unrated
เป็นการแข่งขัน VALORANT รูปแบบมาตรฐานโดยไม่มีการจัดอันดับ โหมดเกมที่มีจุดประสงค์เพื่อโจมตีพื้นที่วางระเบิดหรือกำจัดศัตรู ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามปกป้องพื้นที่วางระเบิด ผู้เริ่มต้นจะต้องผ่านโหมดนี้เพื่อรับรางวัลและมีพัฒนาการในเกม
Ranked
รูปแบบการเล่นคล้ายกับ Unrated แต่ผู้เล่นต้องแข่งขันกันเพื่อจัดอันดับ ซึ่งมีอยู่เก้าอันดับในปัจจุบัน (ต่ำไปสูง: Iron, Bronze, Silver, Gold, Platinum, Diamond, Ascendant, Immortal, Radiant) และแต่ละอันดับมี 3 Tier ยกเว้นRadiant ที่ถูกแทนที่ด้วยอันดับด้วยตัวเลข ( เช่น Radiant #10) จำนวนตัวเลขยิ่งมากหมายถึงอันดับยิ่งสูง เช่น Bronze 3 นั้นสูงกว่า Bronze 2
Spike Rush
โหมดเกม VALORANT แบบสี่ต้อสี่ เน้นการทำความคุ้นเคยกับรูปแบบเกมหลัก ผู้เล่นมือใหม่อาจเล่นโหมดนี้เพื่อฝึกฝีมือการใช้เอเจนต์และทำความคุ้นเคยกับเกม Spike Rush นั้นแตกต่างจาก Ranked และ Unrated ในเรื่องของ orbs พิเศษที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผนที่ให้ผู้เล่นมีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมจากตัวเอเจนต์เดิม
Deathmatch
โหมดเกมฟรีสำหรับทุกคน เพียงจัดการให้คนสิบสี่คน ผู้เล่นสามารถฝึกการเล็งกับผู้เล่นคนอื่นได้ ซึ่งมักจะเลือกเล่น Deathmatch เพื่อวอร์มอัพหรือเช็ค ping โดยความสามารถของเอเจนต์นั้นจะถูกปิดใช้งานในโหมดนี้ อาศัยฝีมือการใช้ปืนของ VALORANT เป็นหลัก
Escalation
โหมดเกมสุดพิเศษนี้คือ Deathmatch แบบทีม 5-ต่อ-5 ไม่มีการวาง Spike โหมดนี้ต้องการให้ผู้เล่นใช้งานปืนประเภทต่างๆ เพื่อสังหารเป็นหลัก โดยสุ่มเลือกอาวุธในแต่รอบการแข่งขัน ส่วนอาวุธ “รอบสุดท้าย” มักจะเป็นมีดหรือปืนพก เช่นเดียวกับ Deathmatch ที่ความสามารถจะถูกปิดการใช้งานในโหมดนี้
Snowball Fight
โหมดเกมมที่ได้เปิดตัวไปช่วงคริสต์มาสในปี 2020 ที่ผ่านมา Snowball Fight เป็นหนึ่งในโหมดเกมที่สนุกที่สุดของ VALORANT เลยทีเดียว ด้วยความที่เป็นโหมด Deathmatch แบบ 5 ต่อ 5 ทำให้ทีมแข่งขันกันโดยใช้ปืน Snowball เท่านั้น ความพิเศษคือใช้สังหารได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ข้อดีคือคุณจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นสองเท่าในโหมดนี้ ส่งผลต่อการเล็งและจังหวะเวลาแน่นอนเลยล่ะ
Replication
โหมดนี้เป็นเวอร์ชันคล้ายกับ Spike Rush แต่ยาวนานกว่าแถมยังไม่มี orbs ความสามารถพิเศษที่ดูแตกต่างกันอีกด้วย ตามชื่อโหมดแล้ว Replication เล่นโดยผู้เล่นคนเดียวที่สุ่มเลือกมาจาก Agent Select Screen มีทั้งความวุ่นวายและสนุกสนานไม่น้อย ลองนึกภาพว่าคุณเล่นกับทีม Sages โดยที่ทีมของคุณก็เล่นเป็น Sage ด้วยเหมือนกัน
โหมดเกมที่ไม่มีเดิมพันมีไว้เพื่อฝึกทักษะการเล็งของคุณ ใช้ชื่อว่า The Range เพื่อฝึกฝนในด้านจดจำแผนที่ หรือเกมให้เล่นกับเพื่อนได้ถึง 10 คนในชื่อว่า Custom Game
แผนที่
แผนที่ VALORANT แต่ละอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นจึ้งมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ความเฉพาะตัวนั้นๆ เพื่อการสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสม ซึ่งเราจะอธิบายแผนที่และอะไรที่เป็นความพิเศษของแต่ละแผนที่ให้คุณได้ทราบ ไปกันเลย
Ascent
แผนที่นี้มีอยู่สามเลน (A, Mid, B) Ascent นับว่าเป็นแผนที่ขนาดเล็กสำหรับผู้เล่นระดับโปร สิ่งสำคัญสำหรับแผนที่นี้คือการควบคุม Mid เพื่อประสานงานกับสมาชิกในทีมที่อยู่ใน A Main หรือ B Main
Bind
แผนที่นี้มีเอกลักษณ์สองประการ: ไม่มีส่วนตรงกลางและมีแทเลพอร์ตตั้งสองเครื่อง การไม่มีบริเวณตรงกลางหมายความว่าฝ่ายรุกจะต้องอยู่บนแผนที่ฝั่งเดียว แต่ก็สามารถใช้เทเลพอร์ตข้ามแผนที่ได้อย่างง่ายดาย
Breeze
Breeze เป็นแผนที่เปิดกว้างซึ่งต้องใช้การยิงจากระยะไกล ลักษณะเฉพาะของแผนที่นี้คือมีพื้นที่ส่วนยกระดับเพิ่มพื้นที่ให้กับฝ่ายรับ อีกทั้งมีปิระมิดถึงสองแห่งบนไซต์ A และอาคารทรงกระบอกทำจากคอนกรีตบนไซต์ B ในช่วงแรกของเกมอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้เล่นที่เลือกใช้เอเจนต์บางคนเช่น Sova, Viper และ Brimstone แต่ก็กลายเป็นส่วนของแผนที่ที่น่าสนใจมากขึ้น เมื่อผู้เล่นได้เรียนรู้ว่าควรวาง Spike ไว้ตำแหน่งใดบ้างหลังจากนั้น
Fracture
แผนที่แบบสุดขั้นอีกแห่งหนึ่งของ VALORANT Fracture ได้รับการออกแบบให้มีความแตกต่างจากแผนที่อื่นๆ อย่างแรกคือมีจุดเริ่มต้นจำนวนมากในแต่ละไซต์โดยที่ผู้เล่น 5 คนไม่สามารถคุ้มกันได้ตลอดเวลา อย่างที่สองคือมีซิปไลน์ยาวที่ขยายจุดเกิดใหม่ของฝ่ายรุกเล็กๆ อยู่ระหว่าง A Dish และ B Arcade ผู้เล่นใหม่อาจสับสนกับแผนที่นี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสักเท่าไร
Haven
แผนที่ดั้งเดิมมีความพิเศษโดดเด่นจากแผนที่อื่นๆ ในเกมยิงปืนทางยุทธวิธีประเภทนี้ เราจะแนะนำจุดวางระเบิดทั้งสามแห่ง ต่างจากปกติที่มีเพียงสองแห่ง หมายความว่ากลยุทธ์ที่มีไว้สำหรับแผนที่วางระเบิดสองแผนที่แบบดั้งเดิมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เพื่อรองรับจุดวางระเบิดที่เพิ่มขึ้นมาใน Haven นั่นเอง
Icebox
แผนที่ปกคลุมไปด้วยหิมะมีจุดวางระเบิดสองแห่ง โกดังปิดที่มีเพดานสูง ซิปไลน์ และมุมแคบมาก และพื้นที่เปิดโล่งที่ทำให้การต่อสู้อาจรู้สึกอึดอัดไม่น้อย
Pearl
แผนที่เปิดตัวใหม่ล่าสุด Pearl มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพราะถูกวางไว้ใต้น้ำ ผู้เล่นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง เนื่องจากองค์ประกอบด้านบนศีรษะนั้นจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่นของน้ำ ทำให้ตำแหน่งตัวระบุตำแหน่งยากกว่าเดิม
Split
แผนที่อีกหนึ่งแห่งที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมส่วนกลาง Split มีส่วนยกระดับบนจุดวางระเบิดทั้งสองแห่งที่เข้าถึงด้วยซิปไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องให้ได้ถกเถียงกันว่า Snipers จะมีระยะสายตามองได้ไกลขนาดไหนเชียว
Battle Pass
คล้ายกับเกมฟรีอื่นหลายๆ เกม VALORANT มีระบบ Battle Pass ให้ผู้เล่นซื้อบัตรผ่านตามฤดูกาลซึ่งมอบรางวัลเป็นสกินอาวุธ การ์ดผู้เล่น ชื่อเรียก เมื่อผู้เล่นมีความคืบหน้าภายในเกมเพิ่มขึ้น เหตุผลประการหนึ่งในการซื้อ Battle Pass นั้นมาจากตำนาน การ์ดผู้เล่นบางใบใน Battle Pass นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับตำนานของเอเจนต์ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของพวกเขาที่น่าสนใจ
หากต้องการซื้อ Battle Pass ให้ไปที่เมนู Battle Pass ที่หน้าจอหลักของ VALORANT แต่ละ Battle Pass มีมูลค่า 1,000 VALORANT Points อย่าลืมเติมเงินเพื่อรับ VALORANT Points ด้วยล่ะ
สำหรับค่าที่ใช้เพื่ออ้างอิง นี่คือรายการของบันเดิล VALORANT Points bundle ซึ่งมูลค่าเงินและมูลค่าในเกมก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เคล็ดลับสำคัญใน VALORANT
ในส่วนนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเอาชนะการแข่งขันและสนุกกับเกมไปพร้อมกัน
- เรียนรู้การเรียกส่วนต่างๆ ของแผนที่
การสื่อสารในทีมของ VALORANT มีการเรียกพื้นที่ต่างๆ ในแต่ละแผนที่หลากหลายชื่อเรียก ในส่วนพื้นที่ทั่วไปอย่าง “Mid”, “A Main” และ “B Main” นั้นจะง่ายต่อการจดจำ แต่ก็มีบางพื้นที่อาจสร้างความสับสนให้กับผู้เล่นใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น “ Hookah” ใน Bind และ “ Ramen” ใน Split ถึงแม้ว่าจะฟังดูแยกออกจากแผนที่หลักแต่จะมีป้ายกำกับในแผนที่ย่อว่า “B Window” (Hookah) และ “B Link” (Ramen) คุณอาจต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยกับชื่อเรียกเหล่านี้ เนื่องจากแผนที่ย่อจะเรียกแต่ละพื้นที่ต่างออกไปนั่นเอง
- ใส่ใจกับสิ่งรอบตัว
VALORANT อาศัยแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันสองแหล่ง: คุณสมบัติและเสียงของเอเจนต์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เล่นใหม่ที่จะต้องให้ความสนใจกับแหล่งข้อมูลทั้งสองนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แล้วสื่อสารไปยังเพื่อนร่วมทีม นอกจากนี้การดูแผนที่ย่อเป็นครั้งคราวก็อาจช่วยได้เช่นกัน
- ประเดิมฝีมือในแมตช์ที่ไม่มีเดิมพันอย่าง Deathmatch หรือ The Range
ผู้เล่นทุกระดับทักษะต้องวอร์มอัพก่อนเข้าสู่การแข่งขันจริง ในขณะที่ The Range อาจช่วยในการฝึกฝีมือ ส่วนการเล่น Deathmatch จะทำให้คุณจับคู่กับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่มีเป้าหมายคล้ายกันเพื่อประลองฝีมือ Spike Rush ก็นับเป็นวิธีที่ดีในการฝึกฝีมือด้วยการฝึกเอเจนต์ในการแข่งขันแบบเดิมพันน้อยด้วยเช่นกัน
- ใช้ Ping Wheel และ Caution pings ให้เกิดประโยชน์
หากคุณไม่สามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมผ่านการแชทด้วยเสียงหรือข้อความได้ คุณสามารถเลือกที่จะ ping ตำแหน่ง เตือนเพื่อนร่วมทีมถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หรือเมื่อคุณอยู่ในมุมอับ ซึ่งการใช้วิธีนี้เพื่อนร่วมทีมจะรู้ได้ว่าคุณอยากบอกอะไรกับพวกเขา คุณอาจต้องการให้ Ping Wheel เป็นส่วนหนึ่งของคีย์บอร์ดและให้มี Caution ping อยู่ข้างๆ กระซิบบอกเบาๆ ว่าเราใช้ปุ่ม R สำหรับ Ping Wheel และปุ่ม T สำหรับ Caution ping นะเพื่อน
- หากไม่สบายใจ ให้หยุดพัก
VALORANT เป็นเกมสุดเข้มข้นซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านเพื่อเอาชนะ หากคุณมีเรื่องรบกวนจิตใจ ให้หยุดพักจากเกมและพักผ่อนเสียก่อน คุณอาจต้องวิเคราะห์การแข่งขันจากผู้เล่นระดับเทพในเกม เพื่อนำมาปรับใช้ในนัดต่อไปของคุณก็ได้
- Jett ชุบชีวิตคุณไม่ได้ เว้นแต่คุณจะเป็น KAY/O
เราหวังว่าคู่มือฉบับนี้จะช่วยคุณในการเล่นเกมแรกของคุณใน VALORANT ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ถึงแม้จะไม่ใช่คู่มือโดยละเอียดสำหรับผู้เล่นมือใหม่ แต่เนื้อหานี้ก็ครอบคลุมหลายสิ่งหลายอย่างที่เราได้สัมผัสประสบการณ์มาด้วยตัวเองช่วงที่เริ่มเล่นเกม อย่าลืมเพลิดเพลินไปกับมันและดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะ